![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhcPABfnX7ImePMvvYJ8lGSUqsAH6Shea0JyCK5eyoKhRElA_9-OfXmsXPaS3AC2NcefI7h-K9AKyIaXF7TGAS3QQISEuuVxyS72RP_iqVU35Cqwy6h9tCQZ-x-MKt8VhSDrP2WYsrSj0A/s640/2016-01-11_162932-cr-800x445.jpg)
5 เหตุผลที่คุณควรเริ่ม ขายของกับ Amazon
มีคนรู้จักสงสัยและถามผมว่า ผมขายของที่ Amazon อยู่ใช่ไหม ผมตอบว่าใช่ จากนั้นการสนทนาของเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการขายสินค้ากับ Amazon ก็เริ่มขึ้น ทำให้ผมเห็นว่ามีคนอีกจำนวนไม่น้อย ที่ซื้อหนังสือมาอ่าน ดูวีดิโอ แล้ว แต่ไม่สามารถจะเริ่มต้นทำได้ เนื่องจากกลัวไปก่อนถึงความยุ่งยากที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
ตรงนี้ผมจึงสรุปเหตุผลที่คุณควรเริ่มต้นสมัคร และทดลองขายของกับ Amazon ให้เร็วที่สุดไว้เสียที่นี่เลย
1 Amazon มีฐานลูกค้าเป็นจำนวนมาก
Amazon เป็นเว็บ E-Commerce ที่มีจำนวนสินค้าและจำนวนฐานลูกค้ามากที่สุดในสหรัฐอเมริกาก็ว่าได้ โดยมียอดขายสินค้ามากกว่าอันดับรองอย่าง Walmart, Target และ Buy.com รวมกันเสียอีก ในแต่ละวันมีผู้คนเข้าออกเว็บไซต์และสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยคาดว่าลูกค้าแต่ละคนที่เข้ามามีการจับจ่ายมากกว่า $200 ดังนั้นการนำสินค้าไปวางขายในตลาดที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วจึงเป็นการประหยัดเวลามากกว่าการมานั่งสร้างเว็บ E-Commerce แล้วหาลูกค้าเข้ามาเอง
2 Amazon มีระบบการลงสินค้าที่เข้าใจง่าย
หากใครเคยลงขายสินค้ากับ ebay.com น่าจะได้เจอกับความยุ่งยากและซับซ้อนของหน้าตาของระบบการลงขายสินค้าของที่นั่นอยู่พอสมควรเลยทีเดียว แค่การ ขายของกับ Amazon ไม่ใช่แบบนั้น ขั้นตอนการลงสินค้าเพื่อขายกับ Amazon นั้นง่ายมาก ยิ่งถ้าเป็นการฝากขายแบบ Individual แล้วจะมีขั้นตอนที่ต้องทำเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นเอง
3 Amazon มีระบบการรับเงินที่รวดเร็วและเหมาะสมกับคนไทย
เพื่อให้การขายของกับ Amazon มีความลื่นไหลในกระแสเงินสด ทาง Amazon จะมีการตัดจ่ายเงินให้กับผู้ขายเดือนละ 2 ครั้ง นั่นทำให้คนที่ขายของได้มากๆ จะมีเงินกลับมาลงทุนและเห็นกำไรได้เร็วขึ้น โดยโอนเงินผ่านธนาคารกรุงเทพในนิวยอร์คมาสู่ธนาคารกรุงเทพของคุณในประเทศไทย เสียค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
4 Amazon มีค่าธรรมเนียมการขายของไม่แพง
ความแตกต่างของ Seller Account ทั้ง 2 แบบของ Amazon Seller นั้น จะเร่มต้นจากค่าธรรมเนียมที่ทาง Amazon เรียกเก็บ สำหรับการขายของกับ Amazon แบบ Individual Plan จะมีค่าธรรมเนียมในการขายคิดเป็นต่อชิ้นเพียง $0.99 เท่านั้น ( แต่มีเงื่อนไขให้ขายได้ไม่เกิน 40 ชิ้นเท่านั้น ) และสำหรับผู้ขายแบบ Professional Plan จะเสียค่าธรรมเนียมเดือนละ $39.99 และยังสามารถขายสินค้าได้ไม่จำกัดจำนวนอีกด้วย
(แต่ทั้ง 2 plan จะยังมีค่าคอมมิชชั่นสำหรับ Affiliate และอื่นๆ ที่เราต้องบวกเพิ่มให้เขาไปด้วย) แม้ว่าจะมีตารางอันยุ่งยากที่ให้เราอ่านว่าสินค้าหมวดไหนเราต้องจ่ายเท่าไหร่ แต่เอาเข้าจริง ระบบจะเป็นคนคิดคำนวณแทนเราอยู่แล้วในขั้นตอนการลงสินค้า ขั้นตอนสุดท้ายเราก็ทำเพียงแค่ใส่ราคาที่เหมาะสมที่จะทำให้เรามีกำไรเข้าไปเท่านั้น
5 Amazon มีแพคเก็จสมาชิกที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้
สำหรับการ ขายของกับ Amazon นั้น เราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนแพคเก็จการขายของเราได้ตลอด เมื่อเราสามารถทำยอดขายได้มากกว่า 40 ชิ้นขึ้นไปแน่ๆ จึงอยากเปลี่ยนจาก Individual Plan ไปเป็น Professional Plan หรือจะยกเลิก Professional Plan กลับมาเป็น Individual Plan เมื่อยอดขายเราไม่ถึง 40 ชิ้น แต่ทั้งนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อครบรอบบิลก่อนนะ
ทั้ง 5 ข้อ
ที่ผมสรุปออกมาให้ได้อ่านกันนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม จากที่ผมได้ทดลองสมัครทำมาประมาณ 2 เดือนเศษๆ จากการที่มีประสบการณ์การทำ Affiliate ของ Amazon มาก่อนแล้ว การเข้ามาเป็น Amazon Seller เองก็มีอะไรที่ทั้งคุ้นชินและแตกต่างกัน
ดังนั้นใครที่มึนในข้อมูลต่างๆ นาๆ ที่คิดว่าเราจำเป็นต้องรู้เสียก่อนถึงจะเริ่มต้น ขายของกับ Amazon ได้ ไม่ว่าจะ เป็นผู้ขายใน Amazon ต้องใช้อะไรบ้าง ค่าธรรมเนียม ค่าคอมมิชชั่น ค่าส่งของ ฯลฯ ขอให้ลืมเรื่องเหล่านั้นไปก่อน แล้วทำการสมัครเข้าไปก่อนเลยครับ แล้วจะเห็นระบบข้างใน จากนั้นค่อยไปต่อกันอีกที
เริ่มทำก่อนแล้วค่อยกลัวครับ ไม่ใช่กลัวก่อน ก็ไม่ได้ทำสักที